Skip to content
หน้าแรก » เปิดตำนาน พญาคันคาก ผู้ชนะพญาแถน ตำนานความเชื่อของชาวอีสาน

เปิดตำนาน พญาคันคาก ผู้ชนะพญาแถน ตำนานความเชื่อของชาวอีสาน

พญาคันคาก

วรรณกรรมพื้นบ้าน ที่แพร่หลายของของชาวอีสาน พญาคันคาก บางคนก็เรียกว่า พญาคางคก เพราะรูปลักษณ์ของท่านเป็นเหมือนกับคางคก เชื่อกันว่าเป็น พระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นคางคก แม้จะมีรูปลักษณ์ที่อัปลักษณ์ ผิวหนังขรุขระ แต่ก็มีบุญญาธิการสูง มีพระอินทร์คอยช่วยเหลือ เหตุใดพญาคันคากจึงได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของชาวอีสาน และเหตุใดจึงมีความเกี่ยวข้องกับงานบุญบั้งไฟได้ Ruay 9 มีคำตอบ

แลนด์มาร์กพญาคันคาก

ตำนานพญาคันคาก

พญาคันคาก ริมแม่น้ำ

พญาคันคาก เป็นพระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็นโอรสของกษัตริย์ของเมืองชมพู โดยตอนที่เกิดมานั้น ได้มีรูปร่างผิวหนังคล้ายกับคางคก ในภาษาอีสาน คือ ‘คันคาก’ แม้ว่าพระองค์จะมีรูปร่างหน้าตาที่อัปลักษณ์ แต่ก็มีพระอินทร์คอยให้ความช่วยเหลือเสมอ ทำให้กลายเป็นที่เคารพของชาวบ้าน จนลืมบูชาพญาแถน จึงทำให้พญาแถนโกรธมาก ไม่ยอมปล่อยน้ำลงมายังโลกมนุษย์ จนเกิดศึกต่อสู้กันระหว่างพญาคันคากและพญาแถน

พญาคันคากได้นำกองทัพสัตว์ขึ้นไปรบจนได้รับชัยชนะกลับมา พญาแถนจึงยอมให้ฝนตกลงมาเหมือนเดิม แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องจุดบั้งไฟ เพื่อทำการบูชาทุกปี จึงเป็นที่มาว่า ทำไมทุกเดือนหก ซึ่งเป็นต้นเดือนของหน้าฝน ชาวอีสานจะต้องจุดบั้งไฟขึ้นบนฟ้า ก็เพื่อเป็นการถวายบั้งไฟให้กับพญาแถน ฝนจะได้ตกตามฤดูกาลนั่นเอง

พญาคันคาก กับ พญานาค

บั้งไฟพญาคันคาก บูชาพญาแถน สู่ประเพณียิ่งใหญ่ของชาวอีสาน

แห่บั้งไฟ พญาคันคาก

บุญบั้งไฟ เป็นความเชื่อพื้นเมืองของชาวอีสาน ที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ มีการทำมาหากินเกี่ยวกับการเพาะปลูกเป็นหลัก ต้องการแหล่งน้ำจากธรรมชาติ จึงได้มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า เทพเจ้าที่คอยให้น้ำกับชาวบ้าน ก็คือ พญาแถน โดยการขอน้ำจากฟ้า ก็มีความเชื่อมาจากเรื่อง พญาคันคาก ที่ได้สู้รบกับพญาแถนจนชนะ เมื่อถึงฤดูกาลทำนา ชาวบ้านก็จะทำการจุดบั้งไฟกัน ซึ่งจัดขึ้นในเดือนหก ที่เป็นต้นฤดูฝน มักจัดขึ้นในจังหวัดยโสธร

พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก

รูปปั้นคางคก

พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก หรือ พิพิธภัณฑ์คางคก ตั้งอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำลำทวน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ตัวอาคารถูกสร้างให้เป็นรูปคางคกขนาดใหญ่ และ ยังเป็นสถานที่ในการขอเลขเด็ดยอดนิยมด้วย! มีความสูงถึง 19 เมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 835 ตารางเมตร ใช้งบประมณในการก่อสร้างมากกว่า 18.97 ล้านบาท ภายในมีการจัดตั้งนิทรรศกาล เพื่อบอกเล่าที่มาของบุญบั้งไฟ มีการจัดฉายเป็นภาพยนตร์แบบ 4 มิติ รวมไปถึงการจัดนิทรรศกาลเกี่ยวกับคางคกชนิดต่างๆ ที่อยู่ในเมืองไทย มากกว่า 20 ชนิด และยังมีความรู้ทางด้านเกษตรกรรมและเกร็ดความรู้มากมายเกี่ยวกับจังหวัดยโสธรเก็บไว้ที่นี่ โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ได้แบ่งออกทั้งหมด 5 ชั้น ได้แก่

  • ชั้นที่1 แสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองยโสธร
  • ชั้นที่2 ตำนานพญาแถนและพญาคันคาก
  • ชั้นที่3 ตำนานและเรื่องราวของบั้งไฟ
  • ชั้นที่4 อัตลักษณ์เมืองยโสธร
  • ชั้นที่5 จุดชมวิวเมืองยโสธร
พิพิธภัณฑ์พญานาค

นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงประติมากรรมขบวนแห่บั้งไฟที่สวยงามไว้ข้างๆ พิพิธภัณฑ์ หากมีเวลาว่างๆ ในยามเย็น ก็สามารถไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะพญาแถน ซึ่งอยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑ์พญาแถน อากาศเย็นสบาย มีลมพัดตลอด ทางเชื่อมของพิพิธภัณฑ์ เป็นพิพิธภัณฑ์พญานาค สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่เข้ามารับชม

ตารางการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พญาคันคาก

พญาคันคาก ตอนเย็น
  • วันพุธ ถึง วันจันทร์ (ปิดทุกวันอังคาร)
  • วันธรรมดา ช่วงเช้า 09.00 – 12.00 น. / ช่วงบ่าย 15.00 – 18.00 น.
  • วันหยุดราชการ ช่วงเช้า 09.00 – 12.00 น. / ช่วงบ่าย 13.00 – 19.00 น.
  • ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้าไปภายในตัวอาคาร
สวนสาธารณะพญาคันคาก
พระโพธิสัตว์

บุคคลที่สะสมบุญบารมีมานาน เพื่อที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เป็นความเชื่อตามศาสนาพุทธ นิกายมหายาน ไม่ว่าจะมีสภาวะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ ก็สามารถบำเพ็ญบารมีธรรมได้

พระอินทร์

ถือเป็นเทพสูงสุดและเทพองค์แรกของศาสนาพราหมณ์ฮินดู สามารถดลบันดาลให้เกิดสิ่งดีๆ และสิ่งที่ไม่ดีขึ้นได้ มี วัชระ หรือ สายฟ้า เป็นอาวุธคู่กาย มีร่างกายสีเหลืองทองอร่าม บางตำราก็ว่า มีร่างกายเป็นสีแดงเข้ม มีพาหนะเป็น รถม้า และ ช้างเอราวัณ

คางคก

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ที่ได้ถูกจัดอยู่ในอันดับกบ มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกบ แต่มีลักษณะที่พิเศษกว่านั้น ก็คือ มีผิวหนังที่เป็นตะปุ่มตะป่ำ และ มีพิษร้ายแรง สามารถทำให้เสียชีวิตได้

สรุป

ตำนานความเชื่อเกี่ยวกับฝนของชาวอีสาน พญาคันคาก คือ พระโพธิสัตว์ ที่ได้มาเสวยชาติเป็นโอรสกษัตริย์ ในตอนที่เกิดมา มีผิวหนังขรุขระเหมือนคางคก แต่เป็นกษัตริย์ที่ดี ปกครองด้วยความเป็นธรรม ชาวบ้านให้ความนับถือ จนลืมพญาแถน ผู้ที่คอยสั่งให้ฝนตกลงมา จึงเกิดการต่อสู้กันระหว่างพญาคันคากและพญาแถน ในที่สุด

พญาคันคากก็เป็นฝ่ายชนะ จึงขอให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกตามฤดูกาล โดยทุกครั้งที่อยากให้ฝนตกลงมา จะทำการจุดบั้งไฟขึ้นฟ้า เพื่อเป็นการส่งสัญญาณ มักเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนหกของทุกปี หากพูดถึง บั้งไฟ ทุกคนก็น่าจะนึกถึง บั้งไฟพญานาค ที่มีการจัดในลักษณะเดียวกัน เรียกว่า น่าสนใจไม่แพ้กันเลยทีเดียว

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก Shutterstock

บทความแนะนำ